ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของออซุเบล
ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของออซุเบล
ออซุเบล (Ausubel) บ่งว่า
ผู้เรียนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารด้วยการรับหรือด้วยการค้นพบ
และวิธีเรียนอาจจะเป็นการเรียนด้วยความเข้าใจอย่างมีความหมายหรือเป็นการเรียนรู้โดยการท่องจำโดยไม่คิด
ออซุเบล จึงแบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
การเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย (Meaningful Reception
Learning)
การเรียนรู้โดยการรับแบบท่องจำโดยไม่คิดหรือแบบนกแก้วนกขุนทอง (Rote
Reception Learning)
การเรียนรู้โดยการค้นพบอย่างมีความหมาย (Meaningful Discovery
Learning)
การเรียนรู้โดยการค้นพบแบบท่องจำโดยไม่คิดหรือแบบนกแก้วนกขุนทอง (Rote
Discovery Learning)
ออซุเบล
สนใจที่จะหากฏเกณฑ์และวิธีการสอนการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
ไม่ว่าจะเป็นโดยการรับหรือค้นพบ
เพราะออซุเบลคิดว่าการเรียนรู้ในโรงเรียนส่วนมากเป็นการท่องจำโดยไม่คิดในที่นี้
จะขออธิบายเพียงการเรียนรู้อย่างมีความหมายโดยการรับ
การเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย (Meaningful Reception
Learning)
ออซุเบล
ให้ความหมายว่าเป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับมาจากการที่ผู้สอนอธิบายสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ให้ฟังและผู้เรียนรับฟังด้วยความเข้าใจ
โดยผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์กับโครงสร้างพุทธิปัญญาที่ได้เก็บไว้ในความทรงจำ
และจะสามารถนำมาใช้ในอนาคต ออซุเบลได้บ่งว่าทฤษฎีของท่านมีวัตถุประสงค์ที่จะอธิบายการเรียนรู้เกี่ยวกับพุทธิปัญญาเท่านั้น
(Cognitive learning) ไม่รวมการเรียนรู้ แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
การเรียนรู้ทักษะทางมอเตอร์ (Motor Skills learning) และการเรียนรู้โดยการค้นพบ
ออซุเบล ได้บ่งว่า การเรียนรู้อย่างมีความหมายขึ้นอยู่กับตัวแปร
3 อย่าง ดังต่อไปนี้
สิ่ง (Materials) ที่จะต้องเรียนรู้จะต้องมีความหมาย
ซึ่งหมายความว่าจะต้องเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งที่เคยเรียนรู้และเก็บไว้ในโครงสร้างพุทธิปัญญา
(cognitive structure) ผู้เรียนจะต้องมีประสบการณ์
และมีความคิดที่จะเชื่อมโยงหรือจัดกลุ่มสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ให้สัมพันธ์กับความรู้หรือสิ่งที่เรียนรู้เก่า
ความตั้งใจของผู้เรียนและการที่ผู้เรียนมีความรู้คิดที่จะเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ให้มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างพุทธิปัญญา
(Cognitive Strueture) ที่อยู่ในความทรงจำแล้ว
โดยสรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้ของออซุเบลเป็นทฤษฎีพุทธิปัญญานิยม ที่เน้นความสำคัญของครู
ว่าครูมีหน้าที่ที่จะจัดเรียบเรียงความรู้อย่างมีระบบ
และสอนความคิดรวบยอดใหม่ที่นักเรียนจะต้องเรียนรู้ ซึ่งแตกต่างกับแนวคิดของพีอาเจต์และบรูนเนอร์ที่เน้นความสำคัญของผู้เรียน
นอกจากนี้ทฤษฎีของออซุเบลเป็นทฤษฎีที่อธิบายการเรียนรู้อย่างมีความหมายเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น