วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กลุ่มเกสตัลท์

กลุ่มเกสตัลท์




   กลุ่มนี้ได้ชื่อว่า “กลุ่มจิตวิทยาส่วนร่วม” คำว่า “Gestalt” หมายถึง ส่วนรวมทั้งหมดหรือโครงสร้างทั้งหมด (totality หรือ configuration) กลุ่มเกสตัลท์นิยมเกิดสมัยเดียวกับกลุ่มพฤติกรรมนิยม กลุ่มเกสตัลท์นิยมเกิดในเยอรมัน กลุ่มพฤติกรรมนิยม เกิดในอเมริกา กลุ่มนี้ได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “ปัญญานิยม”(cognitivism) ผู้นำกลุ่มที่สำคัญ คือ เวอร์ธไฮเมอร์ (Max Wertheimer, 1880 – 1943) และโคเลอร์ (Wolfgang Kohler, 1886 – 1941)
กลุ่มเกสตัลท์นิยมเชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์เป็นพฤติกรรมบูรณาการ (integrated behavior) การศึกษาพฤติกรรมต้อง ศึกษาลักษณะของบุคคลเป็นส่วนรวมจะแยกศึกษาทีละส่วนไม่ได้ เพราะส่วนรวมก็คือส่วนรวม มีคุณค่าหรือคุณสมบัติต่างไปจาก ผลบวกของส่วนย่อย ๆ รวมกัน เช่น “บ้าน” ย่อมมีคุณค่า มีความหมาย มีคุณสมบัติที่มากกว่าการเอาเสา เอากระดานพื้น กระดาน ตามประตูหน้าต่าง หลังค่า ฯลฯ มาต่อรวมเข้าด้วยกัน หรือตัวอย่างไนรูปพฤติกรรม เช่น การแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม จะแสดงออกมาในรูปใด มักเนื่องมาจากคุณสมบัติโดยส่วนร่วมของคน ๆ นั้น โดยประสมประสานระหว่างความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก ทักษะ หรือความสามารถในการกระทำ ฯลฯ ไม่ได้เกิดเพราะสิ่งใดสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวและถึงแม้สิ่งเร้าของคนนั้น จะเป็นสิ่ง เดียวกัน แต่พฤตกรรมจะแตกต่างกันไปตามกาลเวลา ทั้งนี้เนื่องจากประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก ทักษะ และความสามารถ เปลี่ยนไปจากเดิม
กลุ่มเกสตัลท์เน้นศึกษาพฤติกรรมการรับรู้ รวมทั้งการเรียนรู้จากปัญญาความคิด เห็นว่าการรับรู้เป็นพื้นฐานนำให้เกิด การเรียนรู้ และคนเรามีความสามารถในการรับรู้ต่างกัน ส่งผลให้เรียนรู้และกระทำแตกต่างกัน การจะรับรู้ให้เข้าใจได้ดีจะต้อง รับรู้โดยส่วนรวมเสียก่อน แล้วจึงศึกษาส่วนย่อย ๆ ของสิ่งนั้นทีละส่วนในภายหลัง และการเรียนรู้เป็นการแก้ไขปัญหาอย่างหนึ่ง ซึ่งความสามารถในการแก้ไขปัญหาขึ้นอยู่กับความสามารถในการหยั่งเห็น (insight) การหยั่งเห็นเป็นการคิดช่องทาง แก้ปัญหา ได้ฉับพลันจากการพิจารณาสภาวะรอบด้าน ถ้าเกิดการหยั่งเห็นเมื่อใดก็จะแก้ปัญหาได้เมื่อนั้น เมื่อแก้ปัญหาได้ก็เกิดการเรียนรู้ ู้แล้ว ซึ่งจะเป็นไปได้ดีเพียงใดขึ้นกับการใช้ความคิด ความเข้าใจ หรือสติปัญญาของผู้นั้น แนวคิดของกลุ่มนี้ได้ชื่อว่า “ปัญญานิยม” เนื่องจากเห็นว่าการศึกษาพฤติกรรมต้องศึกษาจากกระบวนการรับรู้และการคิดในสมองซึ่งเป็นตัวสั่งการให้เกิดพฤติกรรม
การพัฒนาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแนวคิดของเกสตัลท์นิยมนั้น จะต้องพัฒนาปรับเปลี่ยนความคิดก่อน รวมไปถึงการทำ ความเข้าใจและวินิจฉัยบุคคลที่จะต้องดูผู้นั้นเป็นส่วนรวม ต้องศึกษาเข้าในสภาพแวดล้อมทุกรูปแบบ เพื่อให้รู้จักผู้นั้นได้โดยแท้จริง รวมทั้งได้แนวทางเข้าใจบุคคลโดยพิจารณาที่โลกแห่งการรับรู้ของเขา เนื่องจากจะรับรู้ตามความคิดภายใน มากกว่ารับรู้โลกเชิง ภูมิศาสตร์ตามความเป็นจิง เมื่อเข้าใจการรับรู้ของใครก็ย่อมเข้าใจความคิดองผู้นั้นด้วย
ผู้นำสำคัญในกลุ่มมนุษย์นิยม ได้แก่ คาร์ล โรเจอร์ (Calr R. Rogers, 1902-1987) และ แมสโลว์ (Abraham H. Maslow, 1908-1970) คำอธิบายของกลุ่มนี้ถือว่าสมัยใหม่ สอดคล้องกับสังคมเปิดและสังคมประชาธิปไตย ได้ชื่อว่า พลังที่สาม (the third force) ซึ่งบางคมเรียกว่า คลื่นลูกที่สาม (the third wave) ความเชื่อเบื้องต้นของกลุ่มจิตวิทยามนุษย์นิยม มีดังนี้
6.1 มนุษย์มีจิตใจ ต้องการความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ ทั้งยังมีขีดความสามารถเฉพาะตัว ไม่ใช่จะกำหนดให้เป็นอะไรก็ได้ตามใจชอบของคนอื่น ซึ่งตรงข้ามกับแนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมที่เห็นว่าเราสามารถกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยกันได้
6.2 มนุษย์แต่ละคนเป็นผู้ซึ่งพยายามที่จะรู้จัก เข้าใจตนเอง และต้องการบรรลุศักยภาพสูงสุดของตน (self acturalization) จึงไม่ยากนักที่จะเสริมสร้างให้บุคคลคิดวิเคราะห์ เข้าใจตน และนำจุดดีมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาเอง
6.3 ข้อบังคับและระเบียบวินัยไม่สู้จำเป็นนักสำหรับผู้พัฒนาแล้ว ทุกคนต่างมุ่งสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้แก่ตนถ้าเขาได้รับการยอมรับ ดังนั้น จุดเริ่มต้นของการพัฒนาตนจึงอยู่ที่การยอมรับตนเองและผู้อื่นให้ได้ก่อน
6.4 บุคคลที่พร้อมต่อการปรับปรุงตนเองควรจะได้มีสิทธิเลือกการกระทำเลือกประสบการณ์ กำหนดความต้องการ และตัดสินใจเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยตนเอง (self mastery) เป็นการ ออกแบบชีวิต ที่เหมาะสมตามทิศทางของเขา
6.5 วิธีการแสวงหาความรู้หรือข้อเท็จจริง สำคัญกว่าตัวความรู้หรือตัวข้อเท็จจริง เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตัวของความรู้หรือตัวข้อเท็จจริงจะไม่ใช่สิ่งตายตัว ดังนั้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่ออนาคตของบุคคลมากที่สุดก็คือกรรมวิธีในการเสาะแสวงหาความรู้ ไม่ใช่เน้นที่ตัวความรู้เพียงอย่างเดียว
แนวคิดจากกลุ่มมนุษย์นิยมที่อาจนำไปใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรม คือ การเน้นให้บุคคลได้มีเสรีภาพ เลือกวิถีชีวิตตามความต้องการและความสนใจ ให้เสรีภาพในการคิด การทำเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นให้บุคคลมองบวกในตน ยอมรับตนเอง และนำส่วนดีในตนเองมาใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ รักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเอง สร้างสรรค์สิ่งดีให้ตนเอง ซึ่งเป็นฐานทางใจให้มองบวกในคนอื่น ยอมรับคนอื่นและสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้แก่ผู้อื่นและสังคม กับทั้งมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมด้วย
หลักความเชื่อและแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มมนุษย์นิยมดังกล่าว มีความทันสมัยและเป็นที่ยอมรับมากในปัจจุบันสำหรับในประเทศไทยของเราเองได้มีการตื่นตัวกันมากที่จะนำแนวคิดนี้มาสู่การพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อแก้ปัญหาสังคมในบ้านเมืองเราขณะนี้ โดยนักการศึกษาส่วนหนึ่งมีความเชื่อว่า หากเรามีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพสูง แม้จะเผชิญกับความยุ่งยากในการนำทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ มาใช้ประโยชน์ แม้มีอุปสรรคมากมายต่อการพัฒนาประเทศ แต่ประชากรที่มีคุณภาพน่าจะฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ด้วยวิริยะอุตสาหะ ด้วยความหาญฉลาดแห่งปัญญา และด้วยคุณธรรมความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม ซึ่งกลุ่มมนุษย์นิยมเชื่อว่า ถ้าเด็กถูกเลี้ยงในบรรยากาศของความรักความอบอุ่ม เขาจะมีความรู้สึกมั่งคงปลอดภัย และจะเจริญเติบโตเป็นผู้เป็นผู้ใหญ่ที่มองโลกในแง่ดี มีน้ำใจให้คนอื่น ถ้าเด็กถูกเลี้ยงให้รู้จักช่วยตัวเองตามวัย ตามความถนัด ความสนใจ และตามบทบาทหน้าที่ภายใต้การให้กำลังใจจากผู้ใหญ่ เด็กนั้นจะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ในสังคมกลุ่มมนุษย์นิยมมีความเชื่อว่าการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของคนเรานั้นจะทำได้โดยให้คนมองเห็นส่วนดีในตนเอง และเกิดแรงจูงใจในการนำส่วนดีมาใช้ประโยชน์ ให้รู้จักวางแผนชีวิตและสร้างพลังใจให้ดำเนินชีวิตไปตามแผน ให้ได้มีโอกาสศึกษาตนเองในแง่มุมต่าง ๆ และให้ได้แนวทางในการเรียนรู้บุคคลอื่น ๆ ที่แวดล้อมตนเพื่อปรับตนในการอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างได้ประสิทธิภาพ เกิดการยอมรับตนเอง ยอมรับคนอื่น เมื่อยอมรับตนเองก็เกิดความเชื่อมั่น ปฏิบัติตนเป็นธรรมชาติ ลดความก้าวร้าว และความเก็บกดลงไปได้ เมื่อยอมรับคนอื่นก็จะทำให้มองโลกในแง่ดี ทำให้อยู่ร่วมกันโดยสันติสุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น